การวิเคราะห์และการบริหารโครงการลงทุน รุ่นที่ 14

Project Investment : Analysis and Management

12 พฤศจิกายน 2567 - 30 พฤศจิกายน 2567

(อบรมวันอังคาร, วันพุธ, พฤหัสบดี เวลา 18.00 - 21.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)

ออนไลน์ผ่าน Zoom

Location

  

 

 

         ปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงและรุนแรง การตัดสินใจลงทุนในโครงการใดๆก็ตาม  จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผน การวิเคราะห์และการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการลงทุนดังกล่าวให้ผลตอบแทนคุ้มค่าและสามารถดำเนินการให้อยู่รอดได้ภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล การบริหารจัดการในองค์กรและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 

        เพราะฉะนั้น  องค์ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ  ที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรและการบริหารผลกำไร  จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหาร  ผู้จัดการและผู้รับผิดชอบโครงการลงทุนจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุนโครงการ

      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเปิดอบรมหลักสูตร “การวิเคราะห์และการบริหารโครงการลงทุน” เพื่อให้ความรู้ หลักคิดและแนวทางการวิเคราะห์ การวางแผนและบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ  ในการประเมินการลงทุนโครงการ  (project evaluation)  การศึกษาความเป็นไปได้  (project feasibility study) การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร  การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน การเขียนโครงการเพื่อขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินและการบริหารความเสี่ยงของโครงการ (project risk management) ตลอดจนศึกษาถึงการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนและกรณีศึกษา ทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงหลักการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการ (Project Proposal) เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนโครงการ

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการลงทุน

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวิเคราะห์ถึงแนวโน้ม ผลตอบแทน ต้นทุนรวมถึงความเสี่ยงของโครงการ

5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนโครงการเพื่อขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ด้วยตนเอง

 

เนื้อหาการอบรม

 

การวิเคราะห์โครงการลงทุน ( Project Investment Analysis )   

หลักสูตรนี้ท่านจะได้เรียนรู้ภาพรวมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการลงทุนตั้งแต่ การศึกษาด้านการเงินค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการเงินทุนหมุนเวียนวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน เกณฑ์ตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ รวมไปถึงการประเมินผลการเงินภายใต้ความไม่แน่นอน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนความเสี่ยงของโครงการ และการประเมินผลโครงการลงทุน

 

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Study )

ในหลักสูตรนี้ผู้เข้าอบรมจะได้เข้าใจตั้งแต่วัตถุประสงค์ของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในโครงการทั้งภายนอกและภายใน การวิเคราะห์ด้านการเงิน และมีความเข้าใจในการวิจัยตลาดซึ่งจะทำให้สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อการลงทุนในโครงการได้

 

การวิเคราะห์ทางการเงินของโครงการ ( Project Financial Analysis )

หัวใจสู่ความสำเร็จของโครงการคือเรื่องการเงิน ในหลักสูตรนี้ท่านจะได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์การเงินได้เรียนรู้แนวคิดการบริหารการเงิน การประมาณเงินลงทุน โครงสร้างทางการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนในโครงการ เช่น ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนลดค่า ดัชนีการทำกำไร เกณฑ์การตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการ วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและตัวแปรต่าง ๆ รวมไปถึงปัญหาของโครงการในด้านการเงิน   

 

ฝึกปฏิบัติการประเมินผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงของโครงการลงทุน (ธุรกิจ/อุตสาหกรรรม) ( Workshop: Return on New Biz Business Project Investment and New Project Risk Analysis )

การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง หัวข้อนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประมาณการค่าใช้จ่ายในการลงทุนในสินทรัพย์ (CAPEX) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน (IRR, NPV, Pay-back, B/C) ปัจจัยเสี่ยงด้านการเงินการลงทุน การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) ความเสี่ยง ความไม่แน่นอนและข้อจำกัดในการบริหารโครงการ

 

กรณีศึกษาและฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรและการบริหารผลกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ ( Profitability Analysis and Management: Case Study & Workshop )

หลักสูตรนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของต้นทุนและกำไรการพิจารณาความสามารถในการทำกำไรซึ่งจะสัมพันธ์ทั้งในด้านของกำลังการผลิตและความต้องการของตลาด  การปรับปรุงกระบวนการผลิตและการให้บริการนอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าของโครงการเพื่อพิจารณาความสามารถในการทำกำไรการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรกับกรอบการเพิ่มค่าโดยใช้Economic Profit (EP) และ Economic Value  Added (EVA) ซึ่งในหลักสูตรนี้จะเน้นการยกตัวอย่างและกรณีศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง   

 

ทคนิคการเขียนโครงการเพื่อขอสินเชื่อสถาบันการเงิน ( How to write Project Loan Proposal ) 

หลักสูตรนี้ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบของการพิจารณาให้สินเชื่อและเทคนิคการเขียนโครงการเพื่อขอสินเชื่อตั้งแต่วัตถุประสงค์ของการกู้ การจ่ายชำระหนี้ การป้องกันความเสี่ยง รวมไปถึงเข้าใจหลักในการพิจารณาให้สินเชื่อรู้จักทุนประกอบการ หลักประกัน และเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับแผนการผลิต/ให้บริการ

 

การวางแผนและบริหารโครงการ ( Project Planning and Management )

เข้าใจความแตกต่างระหว่างการบริหารโครงการและการบริหารทั่วไป วัตถุประสงค์โครงการ วงจรชีวิตของงานโครงการ เรียนรู้ขั้นตอนในการบริหารโครงการ ตั้งแต่การเริ่มโครงการ การวางแผน จนถึงเทคนิคการวางแผนกิจกรรมและเวลาในโครงการ การติดตามและควบคุมโครงการ จนถึงการปิดโครงการ 

   

 

ค่าธรรมเนียมการอบรม

ค่าธรรมเนียมการอบรม 18,900 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มีหัก ณ ที่จ่ายใดๆ)

ทั้งนี้รวมค่าเอกสารประกอบคำบรรยายรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

 

 

ผลการประเมิน

ผู้เข้าอบรมจะต้องมีชั่วโมงอบรมไม่น้อยกว่า 80 % ของเวลาเรียนที่กำหนด (ขาดได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง)

จึงจะได้รับวุฒิบัตรจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

กำหนดการ

 

วันอบรม

เวลา

หัวข้อการบรรยาย

ชั่วโมง

วิทยากร

1

อังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

Project Investment Analysis

การวิเคราะห์โครงการลงทุน

3

ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์

2

พุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

Project Feasibility Study

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

3

ผศ. ดร.สันต์ สัมปัตตะวนิช

3

เสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567

09.00-16.00

Project Financial Analysis

การวิเคราะห์ทางการเงินของโครงการ

6

อ.ธนเดช มหโภไคย

4

อังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

Project Planning and Management

การวางแผนและบริหารโครงการ

3

อ.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล

5

พุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

How to write Project Loan Proposal

เทคนิคการเขียนโครงการเพื่อขอสินเชื่อสถาบันการเงิน

3

อ.ธนเดช มหโภไคย

6

พฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

Project Planning and Management

การวางแผนและบริหารโครงการ (ต่อ)

3

อ.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล

7

พุธที่ 27 พฤศจิกายน 2567 18.00-21.00

How to write Project Loan Proposal

เทคนิคการเขียนโครงการเพื่อขอสินเชื่อสถาบันการเงิน (ต่อ)

3

อ.ธนเดช  มหโภไคย

8

เสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 09.00-12.00 Workshop: Return on New Biz Business Project Investment and New Project Risk Analysis ฝึกปฏิบัติการประเมินผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงของโครงการลงทุน (ธุรกิจ/อุตสาหกรรรม) 3

ผศ.ประเสริฐ  อัครประถมพงศ์
อ.ธันยรัตน์  โรจนศิริปัญญากุล

 

 

  13.00-16.00 Profitability Analysis and Management: Case Study & Workshop กรณีศึกษาและฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรและ
การบริหารผลกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์
3

ผศ.ประเสริฐ  อัครประถมพงศ์
อ.ธันยรัตน์  โรจนศิริปัญญากุล

 

 

ขั้นตอนการสมัคร

ส่งใบสมัครได้ 3 ช่องทาง








คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ

อ.ธนเดช มหโภไคย

ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการบริษัทจดทะเบียน

ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์

อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.สันต์ สัมปัตตะวนิช

รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและบริหารโครงการ

อ.ธันยรัตน์ โรจนศิริปัญญากุล

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโครงการและการจัดการความเสี่ยง