การเป็นนักวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ รุ่นที่ 86

Business Analysis

22 ตุลาคม 2567 - 9 พฤศจิกายน 2567

(อบรมวันอังคาร, พฤหัสบดี เวลา 18.00 - 21.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)

ออนไลน์ผ่าน Zoom

Location

                                          

                                                                               

       ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในการบริหารจัดการธุรกิจต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

       คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จึงได้เปิดการอบรมหลักสูตร “การเป็นนักวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ” เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของผู้บริหารงานด้านนี้ โดยใช้หลักและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ อันจะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ภายในองค์กรของตนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความสามารถทางการวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

 

เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้และสามารถแข่งขันได้ในยุคปัจจุบัน ทั้งด้านการตลาด การเงินและการลงทุน

 

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ด้านการวิเคราะห์การแข่งขันและวิเคราะห์ความเสี่ยงทางองค์กร    

 

เพื่อเป็นการต่อยอดให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติ

เนื้อหาการอบรม

การวิเคราะห์การแข่งขัน - Competitive Analysis   

สร้างความได้เปรียบทางการเเข่งขัน ด้วยเเนวทางเเละเทคนิคการวิเคราะห์การเเข่งขันที่ผ่านรับรองมาเเล้วว่าได้ผลอย่าง Blue Ocean Strategy พร้อมทั้งยกตัวอย่าง Case Study การแข่งขันทางธุรกิจหลายประเภทธุรกิจเพื่อให้เกิดความเข้าใจเเละเห็นภาพที่ชัดเจน เช่น การวิเคราะห์เส้นทางสร้างความแตกต่างทั้ง 6  เส้นทาง วิธีใช้สมรรถนะหลักและทรัพยากรขององค์กรให้ได้เปรียบสูงสุด รวมถึงการสร้างกลุ่มที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าให้กลายเป็นลูกค้าขององค์กร

 

ารวิเคราะห์ทางการเงิน - Financial Analysis 

การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการวิเคราะห์งบการเงินในเรื่อง Balance   Sheet, Profit and Loss, Statement of stockholder’s equity, Cash flow statement การทำงบกระแสเงินสดครอบคลุม 3 กิจกรรม และการตีราคาสินค้าคงเหลือ ค่าเสื่อมราคาและตั้งหนี้ที่คาดว่าสงสัยจะสูญด้วยวิธีวิเคราะห์หลากหลายตอบสนองความต้องการ ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรความสามารถในการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์การรับมือสภาพเสี่ยงทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อภาพรวมการเงินที่ชัดเจน

 

 การวิเคราะห์ธุรกิจ - Business Analysis                       

ความรู้ครบเครื่องเรื่องการวิเคราะห์ธุรกิจทั้งภายในองค์กร ตั้งแต่ การตลาด การผลิต การวิจัยและพัฒนา การบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อองค์กร เช่น พฤติกรรมในสังคม นวัตกรรมใหม่ๆ ฯลฯ รวมไปถึงการวิเคราะห์ลูกค้า การแบ่งส่วนตลาด การวิเคราะห์คู่แข่ง โดยผู้เข้าอบรมจะได้รู้จักและเข้าใจ Five Force Model ในการวิเคราะห์การเพิ่มและลดผลกำไรขององค์กร โดยมุ่งความกระจ่างชัดถึงจุดยืนปัจจุบัน หนทางก้าวหน้าในอนาคตและวิธีการ มุ่งไปสู่จุดหมายนั้นอย่างชาญฉลาด เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน

  

การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ - Business Risk Analysis 

            

การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจถึงหลักการวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางการเงินหรือความเสี่ยงทางกลยุทธ์ เป็นต้น

  

 

 

 

การวิเคราะห์ด้านการตลาด - Marketing Analysis     

การวิเคราะห์การตลาดในหลายด้าน หลายแง่มุม เช่น ความสามารถขององค์กร  วิเคราะห์ภูมิคุ้มกันทางการตลาดผ่านการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ทำให้เกิดสถานการณ์  “Change or Die”  และหนทางรองรับที่องค์กรในปัจจุบันพึงมีในการสร้างคุณค่า และวิธีตอบสนองขั้นสูงต่อความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าในยุคตลาดอิ่มตัว รวมถึงวิเคราะห์กลยุทธ์และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์สร้างการเติบโตให้โดนใจ รวดเร็ว คุ้มค่า โดดเด่นและป้องกันการเสียตำแหน่งสุดท้าย  Check list วิเคราะห์การปฏิบัติการเและผลการปฏิบัติการในหลายระดับ


                                                      

การวิเคราะห์เศรษฐกิจ - Macroeconomic Analysis   

​ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ความเคลื่อนไหวของค่าเงิน ดัชนีการบริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงความรู้ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย เช่น วิกฤตเงินทุนไหลออก วิกฤตการณ์การเงินโลก เป็นต้น

 

 

Global Economic Perspective  -  มุมมองเศรษฐกิจโลก 

 เรียนรู้และอัพเดทภาพรวมและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรอบโลก ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อทุกภูมิภาค ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน เอเซีย และไทย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

 

    

ค่าธรรมเนียมการอบรม

ค่าธรรมเนียมการอบรม 18,900 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มี
หัก ณ ที่จ่ายใดๆ) ทั้งนี้รวมค่าเอกสารประกอบคำบรรยายรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

 

ผลการประเมิน

ผู้เข้าอบรมจะต้องมีชั่วโมงอบรมไม่น้อยกว่า 80 % ของเวลาเรียนที่กำหนด จึงจะได้รับ วุฒิบัตรจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

กำหนดการ

 

วันอบรม

เวลา

หัวข้อการบรรยาย

ชั่วโมง

วิทยากร

1

อังคารที่ 22 ตุลาคม 2567

18.00-21.00

Business Analysis

การวิเคราะห์ธุรกิจ

3

อ.ธนเดช มหโภไคย

2

พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567

18.00-21.00

Business Risk Analysis

การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ

3

รศ.ดร.สรายุทธ์ นาทะพันธ์

3

เสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2567

09.00-16.00

Marketing Analysis การวิเคราะห์ด้านการตลาด

6

อ.ณรงค์เวทย์ วจนพานิช

4

อังคารที่ 29 ตุลาคม 2567

18.00-21.00

Macroeconomic Analysis การวิเคราะห์เศรษฐกิจ

3

รศ.ดร.มนชยา อุรุยศ

5

พฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567

18.00-21.00

Global Economic Perspective

มุมมองเศรษฐกิจโลก

3

รศ.ดร.มนชยา อุรุยศ

6

อังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

Competitive Analysis

การวิเคราะห์การแข่งขัน

3

ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ

7

พฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567

18.00-21.00

Competitive Analysis

การวิเคราะห์การแข่งขัน(ต่อ)

3

ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ

8

เสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567

09.00-16.00

Financial Analysis การวิเคราะห์ทางการเงิน

6

ผศ.ดร.ธนัชพร พิชญเมธีวัฒน์

 

ขั้นตอนการสมัคร

ส่งใบสมัครได้ 3 ช่องทาง








คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ

อ.ณรงค์เวทย์ วจนพานิช

ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการขาย

ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง

อ.ธนเดช มหโภไคย

ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการบริษัทจดทะเบียน

รศ.ดร.มนชยา อุรุยศ

ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.สรายุทธ์ นาทะพันธ์

ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) อนุกรรมการลงทุน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ผศ.ดร.ธนัชพร พิชญเมธีวัฒน์

อาจารย์สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ