20 สิงหาคม 2567 - 7 กันยายน 2567
(อบรมอังคาร, พุธ, พฤหัสบดี เวลา 18.00 - 21.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)
ออนไลน์ผ่าน Zoom
ในปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ดำเนินอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อาจเกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวนี้เป็นเสมือนดาบสองคม กล่าวคือ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก ซึ่งถือเป็นโอกาส (Opportunity) หรือในเชิงลบซึ่งถือเป็นความเสี่ยง (Risk) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของข้อจำกัด (Constraint) และความไม่แน่นอน (Uncertainty) อย่างไรก็ดี “ความเสี่ยง” มีความแตกต่างกันไปตามมุมมองตามความเชี่ยวชาญและอาชีพของผู้ให้คำจำกัดความ ซึ่งหมายความว่า นักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ นักสถิติ นักการเงิน วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัย ต่างมีมุมมองและให้ความหมายของคำว่า “ความเสี่ยง” แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์องค์กร หรือกำหนดระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมที่องค์กรสามารถยอมรับได้ นอกจากนั้น การบริหารความเสี่ยงขององค์กรจำเป็นจะต้องทำควบคู่กับการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดอบรมหลักสูตร “การบริหารความเสี่ยงองค์กร” เพื่อตอบสนองความต้องการและก่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ผู้เข้าอบรม โดยบุคคลที่เหมาะสมจะเข้าร่วมการอบรมได้แก่ เจ้าของกิจการและนักธุรกิจ ผู้จัดการทุกระดับ ผู้บริหารโครงการ เจ้าหน้าที่ทางการเงิน บุคคลทั่วไปที่สนใจ
วัตถุประสงค์
เนื้อหาการอบรม
การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management)
ตลอดการอบรม หลักสูตรจะช่วยให้เข้าใจภาพรวมของการบริหารความเสี่ยงองค์กร ทั้งในเรื่องบทบาทหน้าที่ ประเภทความเสี่ยงที่ควรรู้ ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารผลการดำเนินงาน เทคนิคการระบุความเสี่ยงและการวิเคราะห์ปัจจัยการเสียโอกาสจนสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างเป็นลำดับ ทั้งยังทราบกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง ความไม่แน่นอนหรือภาวะวิกฤติอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำแผนบริหารความเสี่ยง แผนงบประมาณองค์กร แผนพัฒนากำกับดูแลระบบและปรับปรุงแนวทางบริหารสู่การสร้างกำไรระยะสั้นและระยะยาว จบด้วยแลกเปลี่ยนความคิด กรณีศึกษาการบริหารความเสี่ยงที่น่าสนใจของแต่ละธุรกิจ
การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk Management)
การมอบความรู้อย่างคุ้มค่าเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เช่น Foreign Exchange Risk, Credit Risk, Supply Risk, Markets Risk, Price Risk, Agency Risk, Liquidity Risk แลกระบวนการของการบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่ วิธีค้นหาความเสี่ยงทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น เกณฑ์ในการตัดสินใจที่สำคัญ แหล่งที่มาของ Financial Risk ปัจจัยความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญสำหรับธุรกิจ การประเมินความเสี่ยง จนถึงกลยุทธ์การรับมือหลากหลายเทคนิค เช่น การจัดการความเสี่ยงด้วย SWAP การบริหารสภาพคล่องในภาวะวิกฤติการบริหารความเสี่ยงด้วย Portfolio เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมการอบรม 18,900 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มี
หัก ณ ที่จ่ายใด ๆ) ทั้งนี้รวมค่าใช้จ่ายด้านเอกสารประกอบคำบรรยายรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
กำหนดการ
|
วันอบรม |
เวลา |
หัวข้อการบรรยาย |
ชั่วโมง |
วิทยากร |
|
1 |
อังคารที่ 20 สิงหาคม 2567 |
18.00-21.00 |
Enterprise Risk Management |
การบริหารความเสี่ยงองค์กร |
3 |
ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ |
2 |
พฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 |
18.00-21.00 |
Economic Risk |
ว่าด้วยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ |
3 |
รศ.ดร.มนชยา อุรุยศ |
3 |
เสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 |
09.00-16.00 |
Corporate Governance |
หลักธรรมภิบาลกับการบริหารความเสี่ยง |
6 |
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ |
4 |
อังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 |
18.00-21.00 |
Strategic Risk Management |
การบริหารเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ |
3 |
ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ |
5 |
พุธที่ 28 สิงหาคม 2567 |
18.00-21.00 |
Strategic Risk Management |
การบริหารเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงกลยุทธ์ (ต่อ) |
3 |
ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ |
6 |
อังคารที่ 3 กันยายน 2567 |
18.00-21.00 |
Financial Risk Management |
การบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน |
3 |
รศ.ดร.สรายุทธ์ นาทะพันธ์ |
7 |
พุธที่ 4 กันยายน 2567 |
18.00-21.00 |
Financial Risk Management |
การบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน (ต่อ) |
3 |
รศ.ดร.สรายุทธ์ นาทะพันธ์ |
8 |
เสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 |
09.00–16.00 |
Risk Management Workshop : How To Enhance Corporate Value |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม |
6 |
ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ |
ขั้นตอนการสมัคร
ส่งใบสมัครได้ 3 ช่องทาง
คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง
อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ธุรกิจ
ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) อนุกรรมการลงทุน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยง COSO ERM 2017 & GRC