1 พฤศจิกายน 2565 - 19 พฤศจิกายน 2565
(อบรมวันอังคาร, ศุกร์ เวลา 18.00 - 21.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00)
ออนไลน์ผ่าน Zoom
ในปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ดำเนินอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อาจเกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวนี้เป็นเสมือนดาบสองคม กล่าวคือ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก ซึ่งถือเป็นโอกาส (Opportunity) หรือในเชิงลบซึ่งถือเป็นความเสี่ยง (Risk) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของข้อจำกัด (Constraint) และความไม่แน่นอน (Uncertainty) อย่างไรก็ดี “ความเสี่ยง” มีความแตกต่างกันไปตามมุมมองตามความเชี่ยวชาญและอาชีพของผู้ให้คำจำกัดความ ซึ่งหมายความว่า นักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ นักสถิติ นักการเงิน วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัย ต่างมีมุมมองและให้ความหมายของคำว่า “ความเสี่ยง” แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์องค์กร หรือกำหนดระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมที่องค์กรสามารถยอมรับได้ นอกจากนั้น การบริหารความเสี่ยงขององค์กรจำเป็นจะต้องทำควบคู่กับการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดอบรมหลักสูตร “การบริหารความเสี่ยงองค์กร” เพื่อตอบสนองความต้องการและก่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ผู้เข้าอบรม โดยบุคคลที่เหมาะสมจะเข้าร่วมการอบรมได้แก่ เจ้าของกิจการและนักธุรกิจ ผู้จัดการทุกระดับ ผู้บริหารโครงการ เจ้าหน้าที่ทางการเงิน บุคคลทั่วไปที่สนใจ
วัตถุประสงค์
เนื้อหาการอบรม
การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management)
ตลอดการอบรม หลักสูตรจะช่วยให้เข้าใจภาพรวมของการบริหารความเสี่ยงองค์กร ทั้งในเรื่องบทบาทหน้าที่ ประเภทความเสี่ยงที่ควรรู้ ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารผลการดำเนินงาน เทคนิคการระบุความเสี่ยงและการวิเคราะห์ปัจจัยการเสียโอกาสจนสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างเป็นลำดับ ทั้งยังทราบกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง ความไม่แน่นอนหรือภาวะวิกฤติอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำแผนบริหารความเสี่ยง แผนงบประมาณองค์กร แผนพัฒนากำกับดูแลระบบและปรับปรุงแนวทางบริหารสู่การสร้างกำไรระยะสั้นและระยะยาว จบด้วยแลกเปลี่ยนความคิด กรณีศึกษาการบริหารความเสี่ยงที่น่าสนใจของแต่ละธุรกิจ
การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk Management)
การมอบความรู้อย่างคุ้มค่าเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เช่น Foreign Exchange Risk, Credit Risk, Supply Risk, Markets Risk, Price Risk, Agency Risk, Liquidity Risk แลกระบวนการของการบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่วิธีค้นหาความเสี่ยงทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น เกณฑ์ในการตัดสินใจที่สำคัญ แหล่งที่มาของ Financial Risk ปัจจัยความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญสำหรับธุรกิจ การประเมินความเสี่ยง จนถึงกลยุทธ์การรับมือหลากหลายเทคนิค เช่น การจัดการความเสี่ยงด้วย SWAP การบริหารสภาพคล่องในภาวะวิกฤติการบริหารความเสี่ยงด้วย Portfolio เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมการอบรม 17,900 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มี
หัก ณ ที่จ่ายใด ๆ) ทั้งนี้รวมค่าใช้จ่ายด้านเอกสารประกอบคำบรรยายรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
กำหนดการ
|
วันอบรม |
เวลา |
หัวข้อการบรรยาย |
ชั่วโมง |
วิทยากร |
|
1 |
อังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2565 |
18.00-21.00 |
Enterprise Risk Management |
การบริหารความเสี่ยงองค์กร |
3 |
ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ |
2 |
ศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 |
18.00-21.00 |
Economic Risk |
ว่าด้วยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ |
3 |
รศ.ดร.มนชยา อุรุยศ |
3 |
เสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2565 |
09.00-16.00 |
Strategic Risk Management |
การบริหารเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ |
6 |
ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ |
4 |
อังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 |
18.00-21.00 |
Financial Risk Management |
การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน |
3 |
ดร.อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ |
5 |
ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 |
18.00-21.00 |
Financial Risk Management |
การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน |
3 |
ดร.อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ |
6 |
อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 |
18.00-21.00 |
Corporate Governance |
หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารความเสี่ยง |
3 |
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ |
7 |
ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 |
18.00-21.00 |
Corporate Governance |
หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารความเสี่ยง (ต่อ) |
3 |
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ |
8 |
เสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 |
09.00–16.00 |
Risk Management Workshop : How To Enhance Corporate Value |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Enhancement) สำหรับองค์กร |
6 |
ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ |
ขั้นตอนการสมัคร
ส่งใบสมัครได้ 3 ช่องทาง
คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง
อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ธุรกิจ
ที่ปรึกษาองค์กร,อาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย