4 กุมภาพันธ์ 2568 - 22 กุมภาพันธ์ 2568
(อบรมวันอังคาร, วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 - 21.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)
ออนไลน์ผ่าน Zoom
ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในการบริหารจัดการธุรกิจต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จึงได้เปิดการอบรมหลักสูตร “การเป็นนักวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ” เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของผู้บริหารงานด้านนี้ โดยใช้หลักและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ อันจะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ภายในองค์กรของตนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความสามารถทางการวิเคราะห์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้และสามารถแข่งขันได้ในยุคปัจจุบัน ทั้งด้านการตลาด การเงินและการลงทุน
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ด้านการวิเคราะห์การแข่งขันและวิเคราะห์ความเสี่ยงทางองค์กร
เพื่อเป็นการต่อยอดให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติ
เนื้อหาการอบรม
การวิเคราะห์การแข่งขัน - Competitive Analysis
สร้างความได้เปรียบทางการเเข่งขัน ด้วยเเนวทางเเละเทคนิคการวิเคราะห์การเเข่งขันที่ผ่านรับรองมาเเล้วว่าได้ผลอย่าง Blue Ocean Strategy พร้อมทั้งยกตัวอย่าง Case Study การแข่งขันทางธุรกิจหลายประเภทธุรกิจเพื่อให้เกิดความเข้าใจเเละเห็นภาพที่ชัดเจน เช่น การวิเคราะห์เส้นทางสร้างความแตกต่างทั้ง 6 เส้นทาง วิธีใช้สมรรถนะหลักและทรัพยากรขององค์กรให้ได้เปรียบสูงสุด รวมถึงการสร้างกลุ่มที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าให้กลายเป็นลูกค้าขององค์กร
การวิเคราะห์ทางการเงิน - Financial Analysis
การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการวิเคราะห์งบการเงินในเรื่อง Balance Sheet, Profit and Loss, Statement of stockholder’s equity, Cash flow statement การทำงบกระแสเงินสดครอบคลุม 3 กิจกรรม และการตีราคาสินค้าคงเหลือ ค่าเสื่อมราคาและตั้งหนี้ที่คาดว่าสงสัยจะสูญด้วยวิธีวิเคราะห์หลากหลายตอบสนองความต้องการ ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรความสามารถในการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์การรับมือสภาพเสี่ยงทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อภาพรวมการเงินที่ชัดเจน
การวิเคราะห์ธุรกิจ - Business Analysis
ความรู้ครบเครื่องเรื่องการวิเคราะห์ธุรกิจทั้งภายในองค์กร ตั้งแต่ การตลาด การผลิต การวิจัยและพัฒนา การบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อองค์กร เช่น พฤติกรรมในสังคม นวัตกรรมใหม่ๆ ฯลฯ รวมไปถึงการวิเคราะห์ลูกค้า การแบ่งส่วนตลาด การวิเคราะห์คู่แข่ง โดยผู้เข้าอบรมจะได้รู้จักและเข้าใจ Five Force Model ในการวิเคราะห์การเพิ่มและลดผลกำไรขององค์กร โดยมุ่งความกระจ่างชัดถึงจุดยืนปัจจุบัน หนทางก้าวหน้าในอนาคตและวิธีการ มุ่งไปสู่จุดหมายนั้นอย่างชาญฉลาด เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ - Business Risk Analysis
การวิเคราะห์ด้านการตลาด - Marketing Analysis
การวิเคราะห์การตลาดในหลายด้าน หลายแง่มุม เช่น ความสามารถขององค์กร วิเคราะห์ภูมิคุ้มกันทางการตลาดผ่านการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ทำให้เกิดสถานการณ์ “Change or Die” และหนทางรองรับที่องค์กรในปัจจุบันพึงมีในการสร้างคุณค่า และวิธีตอบสนองขั้นสูงต่อความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าในยุคตลาดอิ่มตัว รวมถึงวิเคราะห์กลยุทธ์และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์สร้างการเติบโตให้โดนใจ รวดเร็ว คุ้มค่า โดดเด่นและป้องกันการเสียตำแหน่งสุดท้าย Check list วิเคราะห์การปฏิบัติการเและผลการปฏิบัติการในหลายระดับ
การวิเคราะห์เศรษฐกิจ - Macroeconomic Analysis
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ความเคลื่อนไหวของค่าเงิน ดัชนีการบริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงความรู้ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย เช่น วิกฤตเงินทุนไหลออก วิกฤตการณ์การเงินโลก เป็นต้น
Global Economic Perspective - มุมมองเศรษฐกิจโลก
เรียนรู้และอัพเดทภาพรวมและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรอบโลก ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อทุกภูมิภาค ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน เอเซีย และไทย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรม 18,900 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มี
หัก ณ ที่จ่ายใดๆ) ทั้งนี้รวมค่าเอกสารประกอบคำบรรยายรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
ผลการประเมิน
ผู้เข้าอบรมจะต้องมีชั่วโมงอบรมไม่น้อยกว่า 80 % ของเวลาเรียนที่กำหนด จึงจะได้รับ วุฒิบัตรจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการ
|
วันอบรม |
เวลา |
หัวข้อการบรรยาย |
ชั่วโมง |
วิทยากร |
|
1 |
อังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 |
18.00-21.00 |
Business Analysis |
การวิเคราะห์ธุรกิจ |
3 |
อ.ธนเดช มหโภไคย |
2 |
พฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 |
18.00-21.00 |
Business Risk Analysis |
การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางธุรกิจ |
3 |
รศ. ดร.สรายุทธ์ นาทะพันธ์ |
3 |
เสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 |
09.00-16.00 |
Marketing Analysis |
การวิเคราะห์ด้านการตลาด |
6 |
อ.ณรงค์เวทย์ วจนพานิช |
4 |
อังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
18.00-21.00 |
Financial Analysis |
การวิเคราะห์ทางการเงิน |
3 |
ผศ. ดร.ธนัชพร พิชญเมธีวัฒน์ |
5 |
พฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
18.00-21.00 |
Financial Analysis |
การวิเคราะห์ทางการเงิน (ต่อ) |
3 |
ผศ. ดร.ธนัชพร พิชญเมธีวัฒน์ |
6 |
อังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
18.00-21.00 |
Competitive Analysis |
การวิเคราะห์การแข่งขัน |
3 |
ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ |
7 |
พฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 |
18.00-21.00 |
Competitive Analysis |
การวิเคราะห์การแข่งขัน (ต่อ) |
3 |
ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ |
8 |
เสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 |
09.00-12.00 |
Macroeconomic Analysis |
การวิเคราะห์เศรษฐกิจ |
3 |
รศ. ดร.มนชยา อุรุยศ |
|
|
13.00-16.00 |
Global Economic Perspective |
มุมมองเศรษฐกิจโลก |
6 |
รศ. ดร.มนชยา อุรุยศ |
ขั้นตอนการสมัคร
ส่งใบสมัครได้ 3 ช่องทาง
คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการขาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง
ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการบริษัทจดทะเบียน
ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) อนุกรรมการลงทุน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
อาจารย์สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ